Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1147
Title: การยอมรับนวัตกรรมของผู้ใช้บริการระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (e-Customs) ที่มีต่อกรมศุลกากร เขตคลองเตย
Other Titles: The Innovation Acceptance of Customer toward the Electronic Customs System (e-Customs) at Klongteoy District
Authors: ณัฏฐินี สวัสดิ์วอ
Keywords: ระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ
Abstract: การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการยอมรับนวัตกรรมของผู้ใช้บริการระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (e-Customs) ของกรมศุลกากรเขตคลองเตย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างใน การศึกษาครั้งนี้ มีจำนวน 392 ตัวอย่างผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศที่แตกต่างกันมีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมที่แตกต่างกันในด้านความสะดวกของผู้ใช้บริการ อายุและระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมของผู้ใช้บริการระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (e-Customs) ที่แตกต่างกันทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านความรวดเร็วของระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (e-Customs) ด้านความสะดวกของผู้ใช้บริการ ด้านความเชื่อมั่นต่อระบบของผู้ใช้บริการ ด้านการตอบสนองของระบบต่อผู้ใช้บริการส่วนรายได้ต่อเดือนของผู้ใช้บริการที่แตกต่างกันมีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมของผู้ใช้บริการระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (e-Customs) ที่แตกต่างกันทั้ง 3 ด้านคือ ด้านความรวดเร็วของระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (e-Customs) ด้านความสะดวกของผู้ใช้บริการ ด้านความเชื่อมั่นต่อระบบของผู้ใช้บริการ และอาชีพที่แตกต่างกันมีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมของผู้ใช้บริการระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (e-Customs) ที่แตกต่างกันทั้ง2 ด้านคือ ด้านความรวดเร็วของระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (e-Customs) และด้านความสะดวกของผู้ใช้บริการ ผลการทดสอบสมมติฐานเพื่อหาความสัมพันธ์พบว่า ความสามารถเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งานคอมพิวเตอร์ และ การยอมรับนวัตกรรมของผู้ใช้บริการระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (e-Customs) มีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง และไปในทิศทางเดียวกัน The independent study aimed to study the innovation acceptance of customer toward the Electronic Customs system (e-Customs) at Klongteoy District. The sample size of this study was392 samples. Our findings showed that male and female customers were significantly different in accepting the innovation toward the Electronic Customs system (e-Customs) with respect to the convenience of service. Age and education background of customer had a significant effect on the innovation acceptance of customer toward the Electronic Customs system (e-Customs) with respect to the speed of service, the convenience of service, the reliability of service, and the response of service. Customer’s income had a significant impact on the innovation acceptance of customer toward the Electronic Customs system (e-Customs) with respect to the speed of service, the convenience of service, and the reliability of service. Moreover, types of customer’s job had a significant impact on the innovation acceptance of customer toward the Electronics customs system (e-Customs) with respect to the speed of service and the convenience of service. The ability of customer in using computer had a positive relationship with the innovation acceptance of customer toward the Electronic Customs system (e-Customs) at a moderate level.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1147
Appears in Collections:การค้นคว้าอิสระ (Independent Study - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
132506.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.