Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2029
Title: การตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ในช่วงเวลาจำกัด
Other Titles: The Customer Buying Decision via Social Network within the Limited Time Period
Authors: ปุลณัช เดชมานนท์
Keywords: พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
สื่อสังคมออนไลน์
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ. วิชาเอกระบบสารสนเทศ
Abstract: การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ในช่วงเวลาจำ กัด ผลของการศึกษาจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถนำสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ไปปรับเป็นกลยุทธ์สนับสนุนการเจริญเติบโตของธุรกิจต่อไป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยเป็นกลุ่มประชาชนทั่วไปที่เข้ามาใช้บริการในตึกชินวัตร 1 อาคารพหลโยธินเพลสพลาซ่า ที่เคยซื้อสินค้าและสั่งซื้อผ่านสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานประกอบด้วย Independent Samples t-test, One-way ANOVA, Least Significant Difference และ Chi-Square ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง อายุระหว่าง 20 - 30 ปี อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 30,000บาท ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ทั้ง 4 ด้านคือ ผลิตภัณฑ์ ราคา สถานที่ และ ส่งเสริมการขายมีความสำคัญในระดับมาก ส่วนของพฤติกรรมการซื้อ พบว่า ส่วนใหญ่เหตุผลที่ซื้อเพราะความสะดวกโดยใช้ Line ในการสั่งซื้อ และในช่วงเวลา 12.01 - 13.00 น. ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า อายุมีผลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดทุกด้านส่วนอาชีพมีผลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านสถานที่และด้านส่งเสริมการขาย รายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีผลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านราคา ด้านสถานที่และด้านส่งเสริมการขายเพราะความสะดวกในการรับสินค้า ส่วนเหตุผลของการเลือกซื้อ มีความสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านราคา ด้านสถานที่และด้านส่งเสริมการขาย ในขณะที่วิธีการสั่งซื้อและระยะเวลาในการสั่งซื้อมีความสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ทุกด้าน
The purposes of this independent study was to explore the decision making through online social media during the limited time period. The results could help entrepreneurs adopt proper online social media as a strategy to support their business growth. The sample group in this study was 400 people who used the service at Shinawatra 1 Tower, Phaholyothin Place Plaza Building and used to buy product and order through online social media. Questionnaires were used to collect data using convenience sampling method. Statistics used to analyze data were descriptive statistics including Frequency, Percentage, Mean, and Standard Deviation; and inferential statistics including Independent Samples t-test, One-way ANOVA, Least Significant Difference, and Chi -Square at the statistical significance level of 0.05. The results found that most of the respondents were females, age 20 - 30 years old, occupation private business, monthly income more than 30,000 THB. The marketing mix factors including Product, Price, Place, and Promotion were in the high level of importance. In term of buying behavior, the results found that the order reason was convenience, using LINE to order during 12.01 - 13.00 a.m. The hypothesis results found that age affected the marketing mix factors in all aspects. Occupation affected marketing mix factors in the aspect of Place and Promotion. Monthly income affected marketing mix factors in the aspect of Price, Place, and Promotion due to the convenience to pick up products. Buying reason correlated with marketing mix factors in Price, Place, and Promotion. Ordering methods and period of time to order correlated with the marketing mix factors in all aspects.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2029
Appears in Collections:การค้นคว้าอิสระ (Independent Study - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
139296.pdfการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ในช่วงเวลาจำกัด2.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.