Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2064
Title: การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก่อนและหลังการนำ TFRS มาใช้
Other Titles: Financial ratio analysis of listed companies in the stock exchange of thailand before and after TFRS adoption
Authors: จิรัสสท์ มหัทธนโชติกัญย์
Keywords: อัตราส่วนทางการเงิน
การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ. สาขาวิชาการบัญชี
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก่อนและหลังการนำ TFRS มาใช้ จำนวน 251 บริษัท เพื่อทดสอบความแตกต่างก่อนและหลังการนำ TFRS มาใช้ โดยศึกษาจากงบการเงินของปี 2555 และ 2554 เปรียบเทียบกับงบการเงินของปี 2556 และ 2555 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่สถิติ 2-K Related Samples (Wilcoxon Test) และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลทดสอบแบบ 2-K Related Samples (Wilcoxon Test) พบว่ามี 11 อัตราส่วนทางการเงินหลังการนำ TFRS มาใช้ มีค่าแตกต่าง กับอัตราส่วนทางการเงินก่อนการนำ TFRS มาใช้โดยมี 7 อัตราส่วนทางการเงินหลังการนำ TFRS มาใช้มีค่าสูงกว่าอัตราส่วนทางการเงินก่อนการนำ TFRS มาใช้ ได้แก่ อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว อัตราส่วนหนี้สิน อัตราส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราผลตอบแทนต่อเงินลงทุน และอัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และยังพบว่ามี 4 อัตราส่วนทางการเงินหลังการนำ TFRS มาใช้มีค่าต่ำกว่า อัตราส่วนทางการเงินก่อนการนำ TFRS มาใช้ ได้แก่ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนหมุนเวียนสินทรัพย์รวม อัตราส่วนหมุนเวียนสินทรัพย์ถาวร และอัตราการหมุนเวียนส่วนของผู้ถือหุ้น ผลทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินก่อนการนำ TFRS มาใช้กับอัตราส่วนทางการเงินหลังการนำ TFRS มาใช้พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ อยู่ระหว่าง 0.921-0.997 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Flooding crisis in year 2011 impacted to the peoplegs life near the river bank and lowland. Many communities still didngt decide to evacuate to other place. They thought about the floating house during the flooding. The development of floating house in the early stage was using local materials ; like bamboo , foam , steel or plastic bucket such that house can float in water. This research focuses on floating concrete , especially the light-weight concrete as it can be designed for many types of house. The property of moderate light weight concrete developed was by replacing the fine aggregate by the crumb rubber from used tires. The crumb rubber size of no.6 and no.26 with concrete mixture ratio of 10% , 20% and 30% and the fluid polymer mixture ratio of 7.5% and 15% by the weight of cement were used in this research. The test results showed that the concrete mixed with crumb rubber decreased its density and the compressive strength as the percentage of crumb rubber is increased. The weight of concrete mixed with crumb rubber was less than that of normal concrete about 13%-24%. The sample mixed with 7.5% polymer had better permeable resistant than polymer around 15%. The floating stability of moderate light-weight concrete mixed with crumb rubber formed the hollow rectangle shape reflected the efficiency on stable equilibrium which the distance between the metacenter point and the center of bouyancy is larger than the distance between the center of buoyancy point and the center of gravity.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2064
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
139330.pdfการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก่อนและหลังการนำ TFRS มาใช้2.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.