Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1451
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชื่นจิตต์ วงษ์พนัส, บุญทัน ดอกไธสง, สุดใจ ทูลพานิชย์กิจ และบุญเรือง ศรีเหรัญ
dc.date.accessioned2014-03-10T06:57:32Z
dc.date.accessioned2020-09-24T07:36:04Z-
dc.date.available2014-03-10T06:57:32Z
dc.date.available2020-09-24T07:36:04Z-
dc.date.issued2556
dc.identifier.issn1905-8446
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1451-
dc.descriptionวารสารบริหารธุรกิจ ราชมงคลธัญบุรี ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 เดือนกรกฎาคม 2556en_US
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการนำนโยบายการถ่ายโอนการศึกษาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติในจังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2) ศึกษาปัจจัยการถ่ายโอนการศึกษาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (3) ศึกษาประเมินความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสถานศึกษาในจังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (4) เสนอแนะแนวทางการถ่ายโอนการศึกษาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณโดยการวิจัยเชิงคุณภาพมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จำนวน 25 คน โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับความพร้อมการถ่ายโอนการศึกษาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความพร้อมการถ่ายโอนการศึกษาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่าง ได้ขนาดตัวอย่าง 388 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า ภาครัฐส่วนกลางจัดสรรงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่เพียงพอและไม่กระจายอำนาจหน้าที่ในการบริหารัดการศึกษาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างชัดเจน ตลอดจนผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการไม่ประสงค์ที่จะทำงานภายใต้การบริหารัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเห็นว่าบุคลากรทางการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีมาตรฐาน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวนทั้งสิ้น 267 แห่ง มีความพร้อมในการจัดการศึกษา จำนวน 95 แห่ง และไม่มีความพร้อมในการจัดการศึกษา จำนวน 172 แห่ง และผู้ปกครองนักเรียน ประชาชนในท้องถิ่น บุคลากรทางการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการมีความเห็นว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีความพร้อมด้านงบประมาณ ด้านวิชาการและด้านการบริหารบุคคล ดังนั้นจึงไม่เห็นด้วยกับการถ่ายโอนการศึกษาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจen_US
dc.subjectความพร้อมen_US
dc.subjectการถ่ายโอนการศึกษาen_US
dc.subjectองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นen_US
dc.subjectStrategyen_US
dc.subjectWatershed foresten_US
dc.titleความพร้อมการถ่ายโอนการศึกษาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยาen_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:บทความ (Article - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
04-ความพร้อมการถ่ายโอนการศึกษา....pdfความพร้อมการถ่ายโอนการศึกษาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา2.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.