Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4225
Title: Causal Model of Transformational Leadership, Organizational Learning, Absorptive Capacity, and Organizational Innovation of the Food Manufacturing Industry in Thailand
Other Titles: แบบจำลองเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง องค์การแห่ง การเรียนรู้ ความสามารถในการดูดซับ และองค์การแห่งนวัตกรรมของอุตสาหกรรมการผลิตอาหารในประเทศไทย
Authors: Nuanluk Sangperm
Keywords: transformational leadership
organizational learning
absorptive capacity
organizational innovation
Issue Date: 2021
Publisher: RAJAMANGALA UNIVERSITY OF TECHNOLOGY THANYABURI. FACULTY OF BUSINESS ADMINISTRATION
Abstract: The food industrial sector is crucial for the Thai economy for serving domestic and global demand. Firms operating in this sector have linkages along the entire supply chain from the agricultural sector, component manufacturing sector, through to the logistics and export sectors. Moreover, their innovations have played an important part in the further overall advancement of this business sector and transformational leadership is a key determinant to adopt innovation appropriately to specific firms in a particular industry. The objectives of this research were: 1) to verify the indirect effect of transformational leadership on organizational innovation through absorptive capacity as a mediator and organizational learning as a moderator of the food manufacturing industry in Thailand, and 2) to examine the influence of organizational learning as a moderator together with the influences of transformational leadership and absorptive capacity on organizational innovation of the food manufacturing industry in Thailand This research applied quantitative research by the Moderated-Mediation Model to evaluate the empirical results. The populations were medium and large firms in the food manufacturing industry. A sample of employees, who work in product and process development of 200 firms in food industrial sectors were drawn from The Office of SMEs Promotion (OSMEP), using a stratified sampling method. In addition, in-depth interviews of experts and managers concerned with innovation in the food manufacturing industry were used to confirm the results of the hypothesis tested. The results of this research indicated that transformational leadership had an influence on organizational innovation with organizational learning and absorptive capacity as related variables, such that: 1) organizational learning moderates the mediating effect of realized absorptive capacity on the relationship between transformational leadership and organizational innovation, and 2) the relationship between transformational leadership and realized absorptive capacity is moderated by organizational learning while the relationship between potential absorptive capacity and organizational innovation is moderated by organizational learning.
อุตสาหกรรมการผลิตอาหารในประเทศไทยเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อระบบ เศรษฐกิจของไทยเพราะเป็นการผลิตอาหารเพื่อรองรับกับความต้องการของคนภายในประเทศตลอดจน คนทั่วโลก บริษัทในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารนั้นมีการเชื่องโยงกลุ่มธุรกิจทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทานเข้า ด้วยกัน ตั้งแต่ภาคเกษตรกรรม ภาคการผลิต ภาคโลจิสติกส์และภาคการส่งออก ซึ่งมีนวัตกรรมเป็น บทบาทสำคัญในการนำพาให้ธุรกิจก้าวหน้าต่อไป โดยมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป็นปัจจัยที่สำคัญใน การนำนวัตกรรมมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของบริษัท ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อ ตรวจสอบอิทธิพลทางอ้อมของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งนวัตกรรมโดย มีความสามารถในการดูดซับเป็นตัวแปรส่งผ่าน และการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เป็นตัวแปรกำกับ ของอุตสาหกรรมการผลิตอาหารในประเทศไทย 2) เพื่อพิจารณาอิทธิพลขององค์การแห่งการเรียนรู้ซึ่ง เป็นตัวแปรกำกับ กับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและความสามารถในการดูดซับส่งอิทธิพลต่อการเป็น องค์การแห่งนวัตกรรมของอุตสาหกรรมการผลิตอาหารในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีการประยุกต์ใช้แบบจำลองการไกล่เกลี่ยและการ กลั่นกลองเพื่อหาผลลัพธ์เชิงประจักษ์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บริษัทขนาดกลางและขนาด ใหญ่ของอุตสาหกรรมการผลิตอาหารในประเทศไทย โดยทำการเก็บตัวอย่าง จากพนักงานที่ทำงาน หน้าที่ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตจำนวน 200 บริษัทที่อยู่ในนสำนักงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสส.) นอกจากนี้ยังมีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญและ ผู้จัดการที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารเพื่อเป็นการยืนยันผลการทดสอบ สมมติฐาน ผลจากการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งนวัตกรรมโดย มีการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และความสามารถในการดูดซับขององค์การเป็นตัวแปรเชื่อมโยงใน ความสัมพันธ์นั้น กล่าวคือ 1) การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้จะเป็นตัวแปรกำกับในตัวแปรส่งผ่านซึ่งคือ ความสามารถในการดูดซับเชิงประยุกต์ใช้ขององค์การ ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการเป็นองค์การแห่งนวัตกรรม 2) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และความสามารถในการดูดซับเชิงประยุกต์ใช้ขององค์การได้รับการกำกับจากการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการดูดซับเชิงศักยภาพขององค์การและการเป็น องค์การแห่งนวัตกรรมก็ได้รับการกำกับจากการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เช่นกัน
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4225
Appears in Collections:ดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-175399.pdfCausal Model of Transformational Leadership, Organizational Learning, Absorptive Capacity, and Organizational Innovation of the Food Manufacturing Industry in Thailand2.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.