Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4255
Title: การรับรู้การประชาสัมพันธ์แผนงบประมาณของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Authors: ณฐอร กรีฬา
Keywords: การรับรู้
การประชาสัมพันธ์
แผนงบประมาณ
คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์.
Abstract: การวิจัยเรื่องการรับรู้การประชาสัมพันธ์แผนงบประมาณของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้แผนงบประมาณจากการประชาสัมพันธ์ของบุคลากรในคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้แผนงบประมาณของบุคลากรในคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีจากการประชาสัมพันธ์ จำแนกตามลักษณะประชากร 3) เสนอแนวทางการประชาสัมพันธ์แผนงบประมาณของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ ทำการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ประชากรในการศึกษาคือบุคลากร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ จำนวน 89 คน วิเคราะห์ผลการศึกษาโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย t-test และความแปรปรวนทางเดียวด้วยสถิติ One Way ANOVA ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ ข้อมูลลักษณะทางประชากรศาสตร์ พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 80.9 มีอายุ 31 – 40 ปี ร้อยละ 32.6 มีประสบการณ์ในการทำงานตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ร้อยละ 32.6 ประเภทบุคลากรสายวิชาการ ร้อยละ 49.44 ประเภทบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ร้อยละ 50.56 ลักษณะงานที่ทำคืองานการเรียนการสอน ร้อยละ 52.3 มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 57.3 การรับรู้แผนงบประมาณจากการประชาสัมพันธ์ที่เผยแพร่อยู่ในปัจจุบัน พบว่า บุคลากรมีการรับรู้แผนงบประมาณจากสื่อประชาสัมพันธ์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยรับรู้จากการประชุมบุคลากรของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์แต่ละภาคการศึกษามากที่สุด รองลงมาคือหัวหน้างานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารและวางแผนตามลำดับ การรับรู้ประเภทของแผนงบประมาณจากการประชาสัมพันธ์ พบว่า บุคลากรมีการรับรู้ประเภทของแผนงบประมาณภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยรับรู้แผนงบประมาณประเภทโครงการอบรมของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์มากที่สุด รองลงมาคืองบและงบลงทุน ตามลำดับ ช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่บุคลากรเห็นว่ามีประสิทธิภาพในการสร้างความรู้ความเข้าใจแผนงบประมาณมากที่สุด คือ การประชุมบุคลากรของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์แต่ละภาคการศึกษา น้อยลงมาคือประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อบุคคล ได้แก่หัวหน้างาน เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารและวางแผน และประชาสัมพันธ์ผ่าน Line Group ตามลำดับ ประเภทของแผนงบประมาณของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ที่บุคลากรให้ความสนใจ พบว่า บุคลากรให้ความสนใจแผนงบประมาณของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์อยู่ระดับมากทุกประเภท โดยให้ความสนใจแผนงบประมาณประเภทงบบุคลากรมากที่สุด รองมาคือโครงการอบรมของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ งบดำเนินงาน และเงินสบทบกองทุนตามลำดับ ส่วนผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ลักษณะประชากร ได้แก่ ประสบการณ์ในการทำงาน ประเภทบุคลากร ลักษณะงานที่ทำ ระดับการศึกษา มีผลต่อการรับรู้แผนงบประมาณของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์จากสื่อประชาสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แนวทางการประชาสัมพันธ์แผนงบประมาณของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ควรประชาสัมพันธ์แผนงบประมาณทุกประเภท โดยเน้นประชาสัมพันธ์แผนงบประมาณประเภทงบบุคลากรงบดำเนินงาน เงินสบทบกองทุน โดยประชาสัมพันธ์ผ่านการประชุมบุคลากรของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์แต่ละภาคการศึกษา งานสัมมนาที่ฝ่ายบริหารและวางแผนคณะเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์เป็นผู้จัด Line Group แต่อย่างไรก็ตามไม่ควรมองข้ามการประชาสัมพันธ์แผนงบประมาณจากสื่อประชาสัมพันธ์อื่น เพื่อให้การประชาสัมพันธ์แผนงบประมาณครอบคลุมมากที่สุด
The research of public relations perception on the budget plans of Faculty of Home Economics Technology of Rajamangala University of Technology Thanyaburi aimed to: 1) study the perception of public relations on the budget plans of Faculty of Home Economics Technology of Rajamangala University of Technology Thanyaburi, 2) compare staff perception on the budget plans of Faculty of Home Economics Technology of Rajamangala University of Technology Thanyaburi based on demographics, and 3) propose guidelines for publicizing the budget plans of Faculty of Home Economics Technology of Rajamangala University of Technology Thanyaburi. This study was the exploratory research with the collection of data through questionnaires. The sample included 89 staff from Faculty of Home Economics Technology. The descriptive statistics were adopted for data analysis which comprised frequency, percentage, mean, and standard deviation. To confirm the hypotheses, the research was proceeded with quantitative analysis by using t-test and one-way ANOVA methods with the significance level of .05. According to the demographic information, the majority of the staff were female accounting for 80.9% with an age range of 31 to 40 years which was equivalent to 32.6%. The work experience exceeding 15 years accounted for 32.6%. The job positions of the respondents were academic staff for 49.44% and non-academic staff for 50.56%. Besides, 52.3% of the sample had teaching responsibilities, whereas 57.3% of them had higher education level than a bachelor’s degree. Regarding the perception of present public relations on the budget plans, the research results revealed that the staff had high-level perception on an average from the conference of the staff at Faculty of Home Economics Technology in a semester, followed by the public relations from supervisors and administrative and planning staff. On the contrary, the staff had low-level perception of public relations for types of budget plans on an average. Yet, the budget plans for project and training of Faculty of Home Economics Technology received the highest-level of public relations perception, followed by the budget plans of financial statement and capital respectively. Furthermore, the study showed that the most effective public relations channel to promote the understanding of budget plans was staff conference of Faculty of Home Economics Technology in each semester, followed by personal media such as supervisors or administrative and planning staff, and Line application respectively. The staff had strong attention to every type of budget plans of Faculty of Home Economics Technology with the highest level of attention at personnel budget followed by the budget of training project, implementation, and provident fund respectively. The test of research hypotheses also revealed that work experience, job position, job description, and education level had the influence on the perception of public relations on the budget plans of Faculty of Home Economics Technology at the significance level of .05. Therefore, the practical guidelines for publicizing the budget plans of Faculty of Home Economics Technology should focus on all budget types especially the budget of personnel, implementation, and provident fund through staff conference of Faculty of Home Economics Technology in each semester, seminar organized by administration and planning team, and Line group. However, the other channels or platforms of public relations should not be omitted to ensure that the budget plans would be widely and thoroughly broadcasted.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4255
Appears in Collections:วิจัย (Research - HET)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
20231124-R2R-Nathaorn K.pdfPerception of the Budget of Faculty of Home Economics Technology, Rajamangala University of Technology Thanyaburi3.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.