Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4312
Title: การพัฒนาแผ่นทดสอบแบบกระดาษสำหรับตรวจวัดตะกั่วในเนื้อสัตว์
Other Titles: Development of a Paper Test Strip for Detection of Lead in Meat
Authors: รสสุคนธ์ ศรีสุขเจริญ
Keywords: ตะกั่ว
แผ่นทดสอบแบบกระดาษ
เนื้อสัตว์
อนุพันธ์โรดามีน
6G
สมาร์ทโฟน
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สาขาวิชาเคมีประยุกต์.
Abstract: ตะกั่วเป็นธาตุที่เป็นพิษและมักปนเปื้อนในเนื้อสัตว์ เนื่องจากมีการนำตะกั่วมาใช้งานในด้านต่างๆ พิษของตะกั่วสามารถทำลายสมองและระบบประสาท ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผ่นทดสอบแบบกระดาษเพื่อตรวจหาตะกั่วที่ตกค้างในตัวอย่างเนื้อสัตว์ สร้างแผ่นทดสอบแบบกระดาษโดยอาศัยปฏิกิริยาระหว่างตะกั่วทำปฏิกิริยากับอนุพันธ์โรดามีน 6G ส่งผลให้สีเปลี่ยนจากไม่มีสีเป็นสีชมพูบนบริเวณตรวจวัดของแผ่นทดสอบแบบกระดาษ ตรวจวัดความเข้มสีด้วยสมาร์ทโฟน ขั้นแรกสังเคราะห์อนุพันธ์โรดามีน 6G หาสภาวะพารามิเตอร์ที่เหมาะสมของแผ่นทดสอบแบบกระดาษ ศึกษาประสิทธิภาพของแผ่นทดสอบแบบกระดาษสำหรับตรวจวัดตะกั่ว ผลการทดลองพบว่าความเข้มของสีแปรผันตรงตามความเข้มข้นของตะกั่วในช่วงความเข้มข้นจาก 0.1-1 มิลลิกรัมต่อลิตร มีขีดจำกัดในการตรวจพบและขีดจำกัดในการตรวจพบเชิงปริมาณเท่ากับ 0.08 และ 0.27 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ มีร้อยละการได้กลับคืน ในช่วง 83 – 103 เปอร์เซ็นต์ เวลาในการวิเคราะห์เพียง 1 นาที แผ่นทดสอบแบบกระดาษมีอายุการใช้งาน 10 สัปดาห์ สุดท้ายนำแผ่นทดสอบแบบกระดาษไปตรวจวัดตะกั่วที่ตกค้างในตัวอย่างเนื้อสัตว์ ผลการวิเคราะห์ที่ได้จากแผ่นทดสอบแบบ กระดาษที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับวิธีมาตรฐาน งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าแผ่นทดสอบแบบกระดาษที่พัฒนาขึ้นมีข้อดี ได้แก่ มีความถูกต้องและความจำเพาะเจาะจงสูงต่อการตรวจวัดตะกั่ว ใช้เวลาในการวิเคราะห์น้อย ราคาถูก และสามารถใช้ตรวจวัดตะกั่วได้ในภาคสนาม
Lead is a toxic element which is usually contaminated in meat. It has been used in various fields. Lead poisoning can damage the brain and nervous system. Hence, this research aims to develop a paper test strip to detect lead residuals in meat samples. The paper test strips were created utilizing a reaction between the lead and a rhodamine 6G derivative, resulting in a color change from colorless to pink on the detection zone of the paper test strip. The color intensity was determined with a smartphone. Firstly, the rhodamine 6G derivative was synthesized. Then, the optimum parameters of the paper test strips were determined and the effectiveness of paper test strips for the lead detection was investigated. The results of the experiment revealed that the color intensity was directly proportional to the lead concentration in the concentration range from 0. 1- 1 mg/ L. The limitations of detection and those of the quantitative detection were 0.08 and 0.27 mg/l, respectively. The percentage of return in the range was 83 – 103% . It took only one minute for the analysis. The paper test strips lifetime was ten weeks. Finally, the paper test strip was used to determine the lead residues in meat samples. The analysis results obtained from the paper test strips developed by the researcher conformed to those gained from the standard method. This research showed that the developed paper test strips have advantages including high accuracy and specificity to lead detection with short analysis time, costeffectiveness, and portability. That is, it could be used to determine lead in the field.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4312
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - SCI)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-175891.pdfDevelopment of a Paper Test Strip for Detection of Lead in Meat5.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.