
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4585
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ญาณิภา จันทร์บำรุง | - |
dc.date.accessioned | 2025-07-17T02:03:08Z | - |
dc.date.available | 2025-07-17T02:03:08Z | - |
dc.date.issued | 2567 | - |
dc.identifier.uri | http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4585 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการใช้งานระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Office) ของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2) ประสิทธิภาพการใช้งานระบบเอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ (e-Office) ของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้คือ บุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) t-test และการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว One-Way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ในช่วง 41 - 50 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี จำนวนปีที่ทำงาน มากกว่า 10 ปีขึ้นไป สายการปฏิบัติงานเป็นบุคลากรสายสนับสนุน ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับระบบ คือ ผู้ใช้งานทั่วไป 2) พฤติกรรมการใช้งานระบบ e-Office ของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีความถี่ในการเข้าใช้งาน คือ 1 - 2 ครั้ง/วัน ระยะเวลาในการเข้าใช้งาน น้อยกว่า 1 ชั่วโมง/วัน ประสบการณ์การใช้งานระบบ มากกว่า 4 ปีขึ้นไป เข้าใช้งานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้ง โต๊ะในหน่วยงาน การฝึกอบรมการใช้งานเคยอบรมจากหน่วยงานที่จัดโครงการอบรม และลักษณะการใช้งาน จัดทำเอกสารราชการ 3) ประสิทธิภาพการใช้งานระบบ e-Office ด้านความสามารถของระบบ อยู่ในระดับมาก ด้านความพึงพอใจต่อระบบ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความพึงพอใจต่อเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ สนับสนุนระบบ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความพึงพอใจต่ออุปกรณ์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่รองรับการใช้งานระบบ อยู่ในระดับมาก และภาพรวมประสิทธิภาพการใช้งานระบบ อยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) การวิเคราะห์ เปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้งานระบบ e-Office ตามข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า เพศ ระดับการศึกษา จำนวนปีที่ทำงาน สายการปฏิบัติงาน ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับระบบ ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อ ประสิทธิภาพของการใช้งานระบบ e-Office แตกต่างกัน ส่วนพฤติกรรมการใช้งานระบบ ความถี่ในการเข้าใช้งานระบบ ระยะเวลาในการเข้าใช้งานระบบ ประสบการณ์การใช้งานระบบ อุปกรณ์ในการเข้าใช้งานระบบ และ การฝึกอบรม การใช้งานระบบ พบว่า ส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานระบบเอกสาร e-Office แตกต่างกัน จากผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการใช้งานและปัจจัยพื้นฐานของบุคลากร เช่น เพศ ระดับการศึกษา จำนวนปีที่ทำงาน ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับระบบ รวมถึงความถี่ ระยะเวลา ประสบการณ์ อุปกรณ์ และ การฝึกอบรมการใช้งานระบบ ล้วนมีผลต่อระดับประสิทธิภาพการใช้งานระบบ e-Office อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในหลายมิติ โดยเฉพาะด้านความพึงพอใจและความสามารถของระบบ แสดงให้เห็นถึงความจำเป็น ในการปรับปรุงพัฒนาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งานในหลากหลายด้าน ทั้งด้านเทคโนโลยี การฝึกอบรม และการสนับสนุนจากบุคลากร เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การใช้งานที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง อันจะนำไปสู่การยกระดับการบริหารจัดการเอกสารภายในองค์กรให้สอดคล้องกับความต้องการและลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันของบุคลากรอย่างแท้จริง | en |
dc.description.abstract | The objectives of this research were: 1) to investigate the usage behavior of the e- Office system among personnel of Rajamangala University of Technology Thanyaburi, and 2) to examine the efficiency of the e-Office system usage by the same population. The sample group comprised 400 personnel from Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The instrument used for data collection was a questionnaire with an overall reliability coefficient of 0. 94. Statistical analyses included frequency, percentage, mean (X̅) , standard deviation (S.D.), t-test, and One-Way ANOVA. The research results revealed the following: 1) The majority of respondents were female, aged between 41 and 50 years, held a bachelor's degree, had over 10 years of work experience, were support staff, and their primary system role was general user. 2) The usage behavior of the e- Office system among Rajamangala University of Technology Thanyaburi personnel indicated a frequency of access of 1 - 2 times per day, a usage duration of less than 1 hour per day, over 4 years of system usage experience, access via desktop computers in their respective units, prior training received from the organizing unit, and the primary usage involved the creation of official documents. 3) The efficiency of the e-Office system usage was rated at a high level for system capability, a very high level for system satisfaction, a very high level for satisfaction with service and support staff, a high level for satisfaction with supporting equipment and internet network, and the overall efficiency of system usage was at a very high level. 4) The comparative analysis of e- Office system usage efficiency among Rajamangala University of Technology Thanyaburi personnel based on their general information showed that differences in gender, educational level, years of service, job function, and system-related resulted in significant differences in e- Office usage efficiency. Furthermore, regarding system usage behavior, factors such as frequency of system access, duration of system access, device used for system access, and prior system training were found to have a significant impact on e-Office system usage efficiency. The findings suggest that individual characteristics and system usage behaviors significantly impact system efficiency. These insights highlight the importance of tailoring technological infrastructure, user training, and system support to user needs. Consequently, the study offers practical implications for the continued enhancement of e-Office systems to support streamlined, responsive, and effective document management within academic institutions. | en |
dc.description.sponsorship | ได้รับการสนับสนุนจากสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี | en |
dc.language.iso | Thai | en |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. | en |
dc.subject | พฤติกรรมการใช้งานระบบ | en |
dc.subject | ประสิทธิภาพการใช้งานระบบ | en |
dc.subject | ระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ e-Office | en |
dc.title | พฤติกรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Office) ของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี | en |
dc.title.alternative | Behaviors Affecting Work Efficiency of Using Electronic Office System (e-Office) Staffs of Rajamangala University of Technology Thanyaburi. | en |
dc.type | Research | en |
Appears in Collections: | วิจัย (Research - ARIT) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
20250717-Research-Yanipha J.pdf | Behaviors Affecting Work Efficiency of Using Electronic Office System (e-Office) Staffs of Rajamangala University of Technology Thanyaburi. | 6.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.