Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2413
Title: การปรับปรุงระบบการผลิตด้วยการประยุกต์ใช้เทคนิคการผลิตแบบลีน กรณีศึกษา อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร
Other Titles: Manufacturing system improvement by implementation of lean production technique: A case study of food industry
Authors: ชัยวัฒน์ ศรีไชยแสง
Keywords: การผลิตแบบลีน
อุตสาหกรรมอาหาร
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิศวกรรมศาสตร์. สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้เทคนิคการผลิตแบบลีนในการปรับปรุงระบบการผลิตของสายการผลิตซาลาเปา ซึ่งปัญหาที่พบปัจจุบันคือมีปริมาณสินค้าคงคลังที่สูงซึ่งมีมูลคาเฉลี่ยต่อเดือนเท่ากับ 5,148,286 บาท เมื่อเทียบกับยอดการใช่จริงแค่ 2,562,458 บาท จากการสั่งซื้อเฉลี่ยต่อเดือนมากถึง 7,710,744 บาท ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า รวมไปถึงสายการผลิตไม่สมดุลส่งผลให้ประสิทธิภาพของสายการผลิตต่ำเพียงร้อยละ 61.88 จากเป้าหมายร้อยละ 90 ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดแนวคิดที่จะนำเทคนิคการผลิตแบบลีนเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อลดความสูญเสียในกระบวนการผลิตและสร้างมูลค่าให้องค์กร ขั้นตอนในการดำเนินงานเริ่มต้นจากการใช้แผนผังสายธารแห่งคุณค่ารวบรวมข้อมูลและระบุตำแหน่งของปัญหา ซึ่งพบปัญหาที่ฝ่ายคลังสินค้าและฝ่ายผลิต จากนั้นทำวิเคราะห์ปัญหาโดยแผนภูมิสาเหตุและปัญหา และนำเทคนิคการผลิตแบบลีนประกอบด้วยหลักการ ECRS การจัดการสินค้าคงคลัง การผลิตแบบดึง การศึกษาเวลาและการจัดสมดุลการผลิตมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาและลดความสูญเสียทั้ง 7 ประการ ผลการวิจัยพบว่าฝ่ายคลังสินค้าสามารถประหยัดยอดสั่งซื้อจากเดิมลงร้อยละ 52.18 ทำให้ระดับสินค้าคงคลังลดลงร้อยละ 82.57 ระยะเวลาการดำเนินการขอซื้อต่อครั้งของเจ้าหน้าที่ลดลงร้อยละ 80.66 ระยะเวลานำของวัตถุดิบลดลงร้อยละ 77.14 และที่ฝ่ายผลิตพบว่าสมดุลการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 96.64 ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.20 ชั่วโมงในการผลิตลดลงร้อยละ 48.41 และทำให้ประหยัดค่าแรงทางตรง 54,000 บาท จากยอดผลิตทุก 120,000 ลูก
This research aims to apply the lean production technique in order to improve the manufacturing system of Bao process line. The current problem found on high inventory cost, average of 5,148,286 baht/month, when comparing with the average purchase order 7,710,744 baht/month. This means that the actual average usage only 2,562,458 baht/moth. Insufficient volume of finish goods to meet customer demand and unbalanced production line were the other problems leading to lower process efficiency at 61.88% when the target set at 90%. Therefore, the lean production technique was implemented to reduce wastes in manufacturing system and create the value added to company. Value stream mapping is used as a tool for data gathering and identifying the wastes. The problem was found at the department of warehouse and production. Cause and effect diagram is also used to analyze the root cause then many lean tools were applied to reduce 7 wastes, for example, ECRS, inventory management, pull system, time study and line balancing. After implementation, the results showed that at the warehouse department, purchasing cost reduced to 52.18%, inventory level reduced to 82.57%, cycle time of purchasing process reduced to 80.66% and material lead time reduced to 77.14%. At the production department, line balancing improved by 96.64%, process efficiency increased by 43.20%, cycle time of production reduced to 48.41% and direct labor cost was also saved to 54,000 baht per every 120,000 pieces.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2413
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - EN)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
144646.pdfการปรับปรุงระบบการผลิตด้วยการประยุกต์ใช้เทคนิคการผลิตแบบลีน กรณีศึกษา อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร8.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.