Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3336
Title: อิทธิพลของตัวแปรการเชื่อมพอกผิวแข็งต่อสมบัติความต้านทานการสึกหรอของเหล็กหล่อสีเทา JIS-FC25
Other Titles: Effect of hard-faced welding parameter on the wear resistance property of jis-fc25 grey cast iron
Authors: ชินราช ป้องเจริญ
Keywords: การเชื่อมพอกผิวแข็ง
เหล็กหล่อเทา
ความต้านทานการสึกหรอ
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิศวกรรมศาสตร์. สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต
Abstract: การเชื่อมพอกแข็ง เป็นวิธีการหนึ่งที่สำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล เพื่อที่จะสามารถนาลูกหีบอ้อยที่ได้รับความเสียหายจากการใช้งาน กลับมาใช้งานใหม่ได้อย่างมีประสิทธิผลบทความนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษาอิทธิพลของรูปแบบการรองพื้นต่อสมบัติทางกลและโครงสร้างจุลภาคของโลหะเชื่อมพอกแข็งบนพื้นผิวเหล็กหล่อเทา พื้นผิวเหล็กหล่อถูกทำการเชื่อมด้วยกระบวนการเชื่อมอาร์คลวดหุ้มฟลักซ์ด้วยตัวแปรการเชื่อมที่กำหนดที่ประกอบด้วยกระแสเชื่อมและการรองพื้น ชิ้นงานเชื่อมที่ได้ถูกทำการตรวจสอบหาค่าความต้านทานการสึกหรอ ความแข็ง และโครงสร้างจุลภาคของโลหะเชื่อม ผลการทดลองโดยสรุปมีดังนี้ สภาวะการเชื่อมที่เหมาะสมที่ทำให้ได้การสูญเสียน้ำหนักต่ำสุด 0.0977% คือการเชื่อมแบบไม่รองพื้น และกระแสเชื่อม 130 A การเชื่อมแบบไม่รองพื้นให้ค่าความแข็งและความต้านทานการสึกหรอสูงกว่าการเชื่อมแบบรองพื้น เนื่องจากการเกิดโครงสร้างมาเทนไซท์ละเอียดและเกิดการเจือจางส่วนผสมทางเคมีของลวดเชื่อมต่ำกว่า การเพิ่มกระแสเชื่อมในการเชื่อมพอกแข็งแบบไม่มีการรองพื้นส่งผลทำให้ค่าความแข็งและความต้านทานการสึกหรอของโลหะเชื่อมเพิ่มขึ้น
Hard-faced welding has been adopted across many industries, including the sugar cane industry, as a part of maintenance programs to repair sugar cane rollers. This research aimed to study the effect of the buttering layer types on mechanical properties and microstructure of hardfacing weld on FC25 grey cast iron surface. Shielded metal arc welding (SMAW) process with specific welding parameters that were composed of a welding current and buttering layer was applied to produce a hard faced weld metal on cast iron surface. The hard-faced metal was investigated for wear resistance, hardness, and microstructure. The research results showed that the optimum welding condition for the lowest weight loss of 0.0977 % was the weld with non- buttering layer and with the welding current of 130 A. The hardness and the wear resistance with non-buttering layer welding was better than with buttering layer welding. The fine martensitic structure, the lower dilution of electrode composition, and the increase of welding current contributed to the increase of the hardness and the wear resistance property.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3336
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - EN)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-158688.pdfอิทธิพลของตัวแปรการเชื่อมพอกผิวแข็งต่อสมบัติความต้านทานการสึกหรอของเหล็กหล่อสีเทา JIS-FC255.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.