Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3553
Title: ทัศนคติและกระบวนการเรียนรู้ที่มีอิทธิพลต่อความเครียดในการทำงานของผู้บริหารระดับกลางกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ
Other Titles: Attitudes and learning procedure influencing work stress of middle-level executives in information technology group
Authors: ภูษณิศา แก้วสอาด
Keywords: ความเครียดในการทำงาน
กระบวนการเรียนรู้
ผู้บริหาร -- ทัศนคติ
level of stress
learning process
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ. วิชาเอกการจัดการทั่วไป
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริหารระดับกลางที่มีอิทธิพลต่อระดับความเครียดในการทำงาน 2) ทัศนคติในการทำงานของผู้บริหารระดับกลาง ที่มีอิทธิพลต่อระดับความเครียดในการทำงาน และ 3) กระบวนการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือเลียนแบบ ที่มีอิทธิพลต่อระดับความเครียดในการทำงานของผู้บริหารระดับกลาง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ผู้บริหารระดับกลางกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานประกอบด้วย การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว Independent Samples t-test, One-way ANOVA, LSD และ Multiple Linear Regression ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริหารระดับกลางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีระดับความเครียด ในการทำงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางด้านความเครียดที่ยอมรับได้ให้ความสำคัญอยู่ในระดับ ปานกลาง และด้านความเครียดที่มีมาก ให้ความสำคัญในระดับปานกลาง 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน อายุการทำงาน/ประสบการณ์การทำงาน ที่แตกต่างกันส่งผลต่อระดับความเครียดในการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ทัศนคติ มีอิทธิพลต่อระดับความเครียดในการทำงาน ทัศนคติในทางบวกมีความสัมพันธ์ใน ทิศทางตรงกันข้ามกับทัศนคติในทางลบ และการไม่แสดงออกทางทัศนคติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 3) กระบวนการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือเลียนแบบ มีอิทธิพลต่อระดับความเครียดใน การทำงาน กระบวนการจูงใจไม่มีอิทธิพล กระบวนการใส่ใจมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับ กระบวนการเลียนแบบเหมือนตัวอย่าง กระบวนการจดจำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
The purposes of this study were to investigate 1) the personal factors of middle-level executives influencing levels of work stress, 2) work attitudes of middle-level executives influencing levels of work stress, and 3) the learning process by observation or imitation affecting the level of work stress of middle-level executives. The samples were 400 middle-level executives in the information technology group working in Bangkok and surrounding provinces. The instrument was a questionnaire. Data were analyzed by using descriptive statistics: percentage, mean and standard deviation; inferential statistics: Independent Sample t-test, One-way ANOVA, LSD, Multiple Linear Regression and Pearson Correlation Coefficient. The results indicated that generally, the level of work stress of middle-level executives, working in Bangkok and the surrounding provinces, was ranked at the moderate level. Acceptable stress was given an importance at the moderate level and much stress was given an importance at the moderate level. 1) Differences of personal factors affected levels of work stress significantly at the 0.05 level. Personal factors included ages, marital status, occupation, education, monthly income, working lifetime/work experiences. 2) Attitudes had influences on the level of work stress. Positive attitude was conversely associated with negative one and passive one with significance at the 0.05 level. 3) Learning process by observation or imitation influenced the level of work stress whereas motivation process did not. Attention process was conversely associated with reproduction and retention with significance at the 0.05 level.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3553
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-161617.pdfทัศนคติและกระบวนการเรียนรู้ที่มีอิทธิพลต่อความเครียดในการทำงานของผู้บริหารระดับกลางกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ1.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.