Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3127
Title: การประเมินสมรรถนะการทำงานของเครื่องคีบอ้อย
Other Titles: Performance Evaluation of Sugarcane Grab Loaders
Authors: อิศราภรณ์ เนตรภักดี
Keywords: สมรรถนะการทำงาน
รถคีบอ้อย
เปอร์เซ็นต์สิ่งเจือปน
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิศวกรรมศาสตร์. สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร.
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่อง การทดสอบสมรรถนะและประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องคีบอ้อย มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาวิธีการเก็บเกี่ยวอ้อยด้วยแรงงานคน ทดสอบประเมินผล การทำงานของ เครื่องคีบอ้อยและวิเคราะห์ความเหมาะสมเชิงเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม รถคีบอ้อยที่ทดสอบในงานวิจัยนี้ เป็นชนิดติดตั้งบน รถแทรกเตอร์แบบคีบด้านหน้า คีบด้านหลัง และรถคีบอ้อยแบบสามล้อ ค่าชี้ผลการศึกษาได้แก่ ความสามารถในการคีบอ้อย อัตรา การสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง เปอร์เซ็นต์สิ่งเจือปนในอ้อย จุดคุ้มทุนในการทำงาน และระยะเวลาใน การคืนทุน ผลการศึกษาการเก็บเกี่ยวอ้อยด้วยแรงงานคนพบว่า วิธีการเก็บเกี่ยวอ้อยด้วยแรงงานคนมี 3 วิธีได้แก่ ตัดแบบคิดราคาเป็นมัด ตัดแบบวัดวา และตัดแบบเหมาตัน ผลการทดสอบความสามารถ ในการคีบอ้อยเฉลี่ยของรถคีบอ้อยแบบคีบด้านหน้า คีบด้านหลังและแบบสามล้อ มีค่าเท่ากับ 30, 32 และ 39 ตันต่อชั่วโมง ตามลำดับ อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง มีค่าเท่ากับ 14.8 10 และ 11 ลิตร ต่อชั่วโมง ตามลำดับ เปอร์เซ็นต์สิ่งเจือปนที่ติดไปกับอ้อย มีค่าเท่ากับ 4 3 แ ละ 3 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมเชิงเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมพบว่า จุดคุ้มทุนของรถคีบอ้อย แบบคีบหน้า แบบคีบหลัง และแบบสามล้อ มีค่าเท่ากับ 1,950 2,016 และ 9,438 ตันต่อปี ตามลำดับ ค่าใช้จ่ายในการทำงานของรถคีบอ้อย เท่ากับ 36 29 และ 32 บาทต่อตัน ตามลำดับ พิจารณาชั่วโมง การทำงานของรถคีบอ้อยที่ 500 ชั่วโมงต่อปี รถคีบอ้อยแบบคีบหน้า คีบหลัง และแบบสามล้อ มี ระยะเวลาในการคืนทุน เท่ากับ 0.95 0.91 และ 4.1 ปี ตามลำดับ
The purposes of this research were to study sugarcane harvesting by human labor, evaluate working capacity, and analyze feasibility of the sugarcane grab loaders in engineering economics. Three types of sugarcane grab loaders were evaluated in this study, including front end grab loader, rear end grab loader, and three-wheel self-propelled grab loader, respectively. The key performance indicators were working capacity, fuel consumption, percent of contaminants, breakeven point and payback period. The results revealed that sugarcane harvesting methods by human labor were divided into three types: cutting by bundles, cutting by areas, and cutting by weights in tons. The results on working capacity of the front end grab loader, rear end grab loader, and three-wheel self-propelled grab loader were 30, 32, and 39 tons per hour, respectively, as well as the fuel consumption rates were 14.8, 10, and 11 liters per hour, respectively. In addition, the levels of contaminants were 4 , 3, and 3 percent, respectively. The engineering economic analysis showed that the breakeven point of the three sugarcane grab loaders were 1,950 ; 2,016; and 9,438 tons per year, respectively. The operation costs of the machines were 36, 29, and 32 baht per ton, respectively. Based on 500 working hours per year, the front end grab loader, the rear end grab loader, and the three-wheel self propelled grab loader had payback periods of 0.95, 0.91, and 4.1 years, respectively.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3127
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - EN)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-156704.pdfPerformance Evaluation of Sugarcane Grab Loaders4.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.