Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2756
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเฉลิมพงษ์ ลินลา
dc.date.accessioned2017-04-20T02:47:22Z
dc.date.accessioned2020-09-24T04:21:08Z-
dc.date.available2017-04-20T02:47:22Z
dc.date.available2020-09-24T04:21:08Z-
dc.date.issued2558
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2756-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์และพฤติกรรมการใช้ แอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่ส่งผลต่อการเลือกใช้แอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนและ แท็บเล็ตของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขต กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้ วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย Independent Samples t-test, One-way ANOVA และ Least Significant Difference (LSD) ระดับนัยสำคัญทำทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า เพศ อายุ สถานภาพ ที่พักอาศัย อาชีพก่อนเกษียณ/ก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ และรายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือน ส่งผลต่อการเลือกใช้แอพพลิเคชั่นประเภทสื่อสังคมออนไลน์ ปัจจัยด้าน อาชีพก่อนเกษียณ/ก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ ส่งผลต่อการเลือกใช้แอพพลิเคชั่นประเภทมัลติมีเดียและบันเทิง ปัจจัยด้านพฤติกรรมการใช้แอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต พบว่าด้านความถี่ในการใช้ แอพพลิเคชั่นต่อวัน ระยะเวลาในการใช้แอพพลิเคชั่นต่อครั้ง จำนวนของแอพพลิเคชั่นที่ดาวน์โหลด และแหล่งที่ทำให้รู้จักแอพพลิเคชั่น ส่งผลต่อการเลือกใช้แอพพลิเคชั่นประเภทสื่อสังคมออนไลน์ ปัจจัยด้านความถี่ในการใช้แอพพลิเคชั่นต่อวัน ระยะเวลาในการใช้แอพพลิเคชั่นต่อครั้ง ช่วงเวลาใน การใช้แอพพลิเคชั่น และแหล่งที่ทำให้รู้จักแอพพลิเคชั่น ส่งผลต่อการเลือกใช้แอพพลิเคชั่นประเภท การศึกษาและการอ้างอิงen_US
dc.description.abstractThe objectives of this research were to investigate demographic and behavioral factors affecting the usage of applications on smartphones and tablets by elders in Bangkok. The subjects of the study were 400 elders who were sixty years old or older, who lived in Bangkok. Questionnaires were used to collect data using simple random sampling method. Statistics used for data analysis were descriptive statistics including frequency, percentage, mean and standard deviation; and inferential statistics including independent sample t-test, one-way ANOVA and least significant difference (LSD) at the statistical significance level of 0.05. The results revealed that the demographic factors including gender, age, marital status, residence, occupation before retirement, and monthly average expenses affected using social networking applications. Occupation before retirement and monthly average expenses affected using multimedia & entertainment applications. In addition, the behavioral factors on using smartphones and tablets indicated that the usage frequency, duration per usage, number of downloaded applications, and source of applications affected using social networking applications. Usage frequency per day, duration per usage, usage time of day, and source of applications affected using educational and reference applications.
dc.language.isoThaien_US
dc.publisherFactors affecting behavior on using applications on smartphones and tablets of elders in Bangkoken_US
dc.subjectแอพพลิเคชั่นen_US
dc.subjectสมาร์ทโฟนen_US
dc.subjectแท็บเล็ตen_US
dc.subjectผู้สูงอายุen_US
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้แอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeFactors affecting behavior on using applications on smartphones and tablets of elders in Bangkoken_US
dc.typeIndependent Studyen_US
Appears in Collections:การค้นคว้าอิสระ (Independent Study - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-151471.pdfFactors affecting behavior on using applications on smartphones and tablets of elders in Bangkok5.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.