Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4192
Title: การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2
Other Titles: A study on innovative leadership of school administrators under the Pathum Thani primary educational service area office 2
Authors: ศิริพร พงษ์เนตร
Keywords: ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม
ผู้บริหารสถานศึกษา
Innovative leadership
School administrators
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 320 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม และผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 ได้แก่ (1) ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ผู้บริหารสถานศึกษามีการจัดหาเทคโนโลยี สื่อ วัสดุอุปกรณ์การสื่อสารที่ทันสมัยให้สามารถใช้งานได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ มีระบบการนิเทศ ติดตาม และพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (2) ด้านการทางานเป็นทีมและมีส่วนร่วม ผู้บริหารสถานศึกษามีการบริหารแบบมีส่วนร่วม สนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรในสถานศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นร่วมพัฒนา ผลงานเพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นในรูปแบบของคณะทางานและทีมงาน (3) ด้านการมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเป็นผู้แสวงหาความรู้อยู่เสมอเปลี่ยนแนวคิดตนเองให้มาเป็น coaching เป็นผู้นำทางวิชาการ สร้างวัฒนธรรมการทางานที่มุ่งเน้นการเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่หรือความคิดเห็นใหม่ๆ (4) ด้านการคิดสร้างสรรค์ ผู้บริหารสถานศึกษาเปิดโอกาสให้ทุกคนได้สร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์ร่วมกันทำให้ผู้มีส่วนร่วมเห็นคุณค่าของนวัตกรรมที่ได้ ส่งเสริมให้บุคลากรร่วมกันผลักดันการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจนบรรลุตามเป้าหมาย (5) ด้านการสร้างบรรยากาศองค์กรนวัตกรรม ผู้บริหารสถานศึกษารับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน รวมถึงการแสดงความมีน้ำใจต่อผู้อื่น มีมารยาทและมีความอ่อนน้อมถ่อมตนในการทำงานร่วมกัน
This research aimed to: 1) investigate the innovative leadership of school administrators under the Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2, and 2) explore the practical approaches for developing the innovative leadership of school administrators under the Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2. The research samples consisted of 320 school administrators under the Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2, derived from cluster sampling. The key informants included six school administrators under the Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2. The instruments were a questionnaire and an interview form. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis. The research results revealed that: 1) the innovative leadership of school administrators under the Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2 was overall at a high level. 2) The practical approaches for developing the innovative leadership of school administrators under the Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2 consisted of five areas. First, using information and communication technology; the school administrators provided modern technology, media, materials and communication equipment sufficiently and efficiently with a system of supervision, monitoring and development to equip the personnel with the computer technology knowledge. Second, teamwork and participation; the school administrators had participatory management by supporting and encouraging personnel in educational institutions to participate in expressing opinions, and contribute to work improvement in the form of working groups and teams. Third, vision of change; the school administrators must always be a seeker of knowledge by turning one's own ideas into coaching and academic leaders to create a work culture focusing on being open-minded, and accepting new things or new ideas. Fourth, creativity; the school administrators allowed everyone to create mutually beneficial work, and enabled participants to value the innovation that empowered people to mobilize change to achieve goals. Fifth, creating an innovative corporate atmosphere; the school administrators listened to each other's opinions including showing kindness to others, being polite and humble when working together.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4192
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis-TECHED)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-175300.pdfการศึกษาภาวะผู้นาเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 24.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.