Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1930
Title: การศึกษาประสิทธิภาพการกัดขึ้นรูปวัสดุเหล็กแม่พิมพ์พลาสติก
Authors: บรรจง เฟื่องฟู
Keywords: แม่พิมพ์ (งานโลหะ)
แม่พิมพ์พลาสติก
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิศวกรรมศาสตร์. สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต
Abstract: แม่พิมพ์เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการผลิตชิ้นงานพลาสติก การเลือกวัสดุในการทำแม่พิมพ์ที่มีความเหมาะสมจะส่งผลให้คุณภาพของชิ้นงานพลาสติกสูงขึ้น อีกทั้งจะทำให้อายุการใช้งานของแม่พิมพ์ยาวนานขึ้น งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษาคุณสมบัติของเหล็กทำแม่พิมพ์ 3 ชนิด และเปรียบเทียบสมบัติการตัดเฉือนของเหล็กกล้าทั้ง 3 ชนิด วัสดุในการทดลองนี้ คือเหล็กกล้าแม่พิมพ์ 3 ชนิด ที่มีชื่อทางการค้าคือ Daido-Nak80 Bohler-M202 และ S50C โดยทำเป็นชิ้นทดสอบชนิดละ 9 ตัวอย่าง เหล็กกล้าทั้ง 3 ชนิดถูกนำมากัดผิวหน้า โดยใช้ตัวแปรในการทดลองคืออัตราป้อนกัด 45 50 และ 55 มิลลิเมตรต่อนาที ความเร็วรอบ 510 572 และ 637 รอบต่อนาที โดยทำการกัดเป็นขั้นบันไดที่ความลึก 3 5 และ 10 มิลลิเมตร เครื่องมือในการกัด คือ ดอกกัดเอนมิล ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร ชนิด 2 คมตัด ผิวงานกัดของเหล็กกล้าแม่พิมพ์ด้วยสภาวะที่กำหนดถูกนำมาทำการศึกษาคุณภาพของผิวงานกัด ได้แก่ค่าความหยาบผิว การสึกหรอคมตัดของมีดกัด การทดลองสรุปผลได้ดังนี้ ความหยาบผิวของเหล็กกล้าแม่พิมพ์พลาสติกที่ผ่านการกัดซึ่งมีค่าความหยาบผิวสูงสุด 0.593 2.120 และ 2.627 ไมโครเมตร สำหรับเหล็กกล้าแม่พิมพ์ Daido-Nak80 Bohler-M202 และ S50C ตามลำดับ ที่สภาวะการกัดเหมาะสมคือ การป้อนด้วยอัตราป้อน 45 มิลลิเมตรต่อนาที ความเร็วรอบ 637 รอบต่อนาที และระดับความลึกการกัดที่ระยะ 3 มิลลิเมตร ส่วนสภาวะการกัดที่ทำเกิดการสึกหรอสูงสุดของคมตัดของดอกกัดเอนมิล พบว่าการกัดเหล็กแม่พิมพ์พลาสติก Bohler-M202 ที่อัตราป้อน 55 มิลลิเมตรต่อนาที ที่ความเร็วรอบ 510 รอบต่อนาที ระดับการกัดที่ความลึก 10 มิลลิเมตร
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1930
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - EN)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
139345.pdfการศึกษาประสิทธิภาพการกัดขึ้นรูปวัสดุเหล็กแม่พิมพ์พลาสติก12.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.