Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3356
Title: การศึกษาการถ่ายภาพยนตร์แบบข้ามเส้น 180 องศา กรณีศึกษา :ภาพยนตร์โฆษณารณรงค์ป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม
Other Titles: The study of a film shooting beyond 180 degree rule : Case study of the advertisement film for precaution the office syndrome campaign
Authors: พัฒนา ฉินนะโสต
Keywords: การถ่ายภาพยนตร์แบบข้ามเส้น 180 องศา
ภาพยนตร์โฆษณารณรงค์ป้องกันออฟฟิศซินโดรม
ภาพยนตร์โฆษณา
โรคออฟฟิศซินโดรม
film shots using beyond 180-degree rule
advertisement film
office syndrome
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน. สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน.
Abstract: บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการถ่ายภาพยนตร์ข้ามเส้น 180 องศา 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็น ต่อความเข้าใจเนื้อหา ความรู้สึกเวียนศีรษะ ความรู้สึกสับสนทิศทาง และการถ่ายภาพยนตร์ข้ามเส้น 180 องศา สามารถสร้างความน่าสนใจให้กับภาพยนตร์ได้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พนักงานในสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่มีอายุตั้งแต่ 30-60 ปี จำนวน 30 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ภาพยนตร์โฆษณารณรงค์ป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรมที่มีการ ถ่ายภาพแบบข้ามเส้น 180 องศา 2) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อฉากการถ่ายภาพแบบข้ามเส้น 180 องศา และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อภาพยนตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษามีดังนี้ 1) ความคิดเห็นต่อความเข้าใจเนื้อหา อยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅ = 2.65) 2) ความคิดเห็นด้านความรู้สึกเวียนศีรษะ อยู่ในระดับปานกลาง 𝑥̅ = 2.65) 3) ความคิดเห็นด้านความรู้สึก สับสนทิศทาง อยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅ = 2.84) 4) การถ่ายภาพข้ามเส้น 180 องศาสร้างความน่าสนใจให้ภาพภาพยนตร์ อยู่ในระดับปานกลาง 𝑥̅ = 2.96) สรุปได้ว่าภาพยนตร์โฆษณารณรงค์ป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม ที่ถ่ายภาพยนตร์แบบข้ามเส้น 180 องศา ไม่มีผลต่อการทำความเข้าใจเนื้อหา ความรู้สึกเวียนศีรษะ ความรู้สึกสับสนทิศทาง รวมทั้งไม่สามารถสร้างความน่าสนใจให้กับภาพยนตร์
ABSTRACT The objectives of this study research were: 1) To study of the break the 180 degree rule; 2) to investigate the opinion of samples in the film’s content, the feeling of dizziness, and the feeling of lost direction. The purposive samples were consisted from 30 staffs participants, ranging from the ages of 30 - 60 years old at the Office of Academic Resource and Information Technology, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The instruments were: 1) an advertisement film with shooting by break the 180 degree rule; and 2) the questionnaire. The data were analyzed by percentage, mean, and standard deviation. The research findings were as followed: 1) The participants understand the film content at the average level (Mean 2.65); 2) The feeling of the dizziness after watching the film was at the average level (Mean 2.65); 3) The opinion of sense of lost direction in break the 180 degree rule scene was at average level (Mean 2.84); 4) The opinion of break “180 degree rule” scene could make the film interesting at the average level (Mean 2.96); It can be concluded that: the film “180 degree rule” had no impact to understand the film content, the dizziness feeling, the sense of lost direction, and making the film interesting.
Description: วพ TR 148 พ532ก
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3356
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - MCT)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT_158620.pdfการศึกษาการถ่ายภาพยนตร์แบบข้ามเส้น 180 องศา กรณีศึกษา :ภาพยนตร์โฆษณารณรงค์ป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม4.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.