Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3776
Title: สมบัติเชิงกลของซีเมนต์เพสต์เสริมเส้นใยมะพร้าวโดยใช้ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์เป็นวัสดุประสาน
Other Titles: Mechanical properties of cement paste reinforced with coconut fiber by using Portland cement as Cementious materials
Authors: วิโรจน์ ไกรเทพ
Keywords: ปูนซีเมนต์
ซีเมนต์เชิงประกอบ
ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์
เส้นใยมะพร้าว
อุตสาหกรรมการก่อสร้าง -- การศึกษาเฉพาะกรณี
Construction industry -- Case studies
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิศวกรรมศาสตร์. สาขาวิศวกรรมโยธา
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพ ในการนำเส้นใยมะพร้าวมาใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ทำการศึกษาการใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์กับเส้นใยมะพร้าว โดยทดสอบสมบัติกำลังอัด แรงดัด แรงเฉือน แรงดึงแบบผ่าซีก และแรงดึงโดยตรง ในการศึกษาครั้งนี้ใช้วัสดุเส้นใยมะพร้าว ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์และน้ำ ในอัตราส่วนผสมร้อยละ 11.2 : 29.6 : 59.2 , 12.1 : 28.8 : 59.1 และ 13.0 : 28.0 : 59.0 โดยปริมาตรตามลำดับ อัดขึ้นรูปตัวอย่างคานขนาด 10X10X60 เซนติเมตร คานขนาด 10X10X30 เซนติเมตร และทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15X30 เซนติเมตร สำหรับการทดสอบแรงดัด แรงเฉือน แรงดึงโดยตรง กำลังอัดและแรงดึงแบบผ่าซีก ตามลำดับ ที่อายุ 28 วัน และ 90 วัน ผลการทดสอบพบว่า กำลังอัด แรงดัด แรงเฉือน และแรงดึงแบบผ่าซีกมีค่าสูงขึ้นตามปริมาณเส้นใยมะพร้าวที่มากขึ้น โดยที่สัดส่วนผสมเส้นใยมะพร้าวร้อยละ 13.0 โดยปริมาตร ให้ค่าสูงสุด สำหรับการทดสอบแรงดึงโดยตรง พบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณเส้นใยมะพร้าวจะทำให้แรงดึงโดยตรงมีค่าลดลง โดยเส้นใยมะพร้าวที่ร้อยละ 11.2 โดยปริมาตร มีค่าแรงดึงโดยตรงมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบการทดสอบที่อายุ 28 วัน และ 90 วัน พบว่าที่อายุ 90 วัน สมบัติการรับแรงทุกการทดสอบมีค่าลดลง
The objective of this research was to study the potential of using coconut fiber in the construction industry. The researcher studied the use of Portland cement with coconut fibers by testing the compressive strength, bending strength, shear strength, splitting tensile strength, and direct tensile strength. In this study, the coconut fiber material was mixed by Portland cement and water at the ratios of 11.2: 29.6: 59.2, 12.1: 28.8: 59.1, and 13.0: 28.0: 59.0 percent by volume, respectively. Beam size 10X10X60 cm, 10X10X30 cm and cylinder of dimension 15X30 cm were extruded to test bending, shear, direct tensile, compressive strength, and splitting tensile strength, respectively at the age of 28 and 90 days. The test results showed that the compressive strength, bending strength, shear strength and splitting tensile strength increased with the increase of coconut fiber amount. The ratio of coconut fiber mixed at 13.0 percent by volume yields the highest values. For direct tensile strength, it was found that the direct tensile strength decreased when the amount of coconut fiber was increased. The coconut fibers at 11.2 percent by volume had the highest direct tensile strength. Comparing between the age of 2 8 days and 9 0 days, it was shown that at the age of 9 0 days, all mechanical properties decreased.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3776
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - EN)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-167521.pdfสมบัติเชิงกลของซีเมนต์เพสต์เสริมเส้นใยมะพร้าวโดยใช้ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์เป็นวัสดุประสาน4.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.