Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4017
Title: กระบวนการบริการขอรับความคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Other Titles: The Service of Intellectual Property Protection Processes, Rajamangala University of Technology Thanyaburi
Authors: มยุรี จอยเอกา
Keywords: ทรัพย์สินทางปัญญา
กระบวนการขอรับความคุ้มครอง
การบริการ
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. สถาบันวิจัยและพัฒนา.
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ 1) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจของผู้รับบริการงาน ด้านทรัพย์สินทางปัญญาของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2) และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการต่องานด้านทรัพย์สินทางปัญญาของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยใช้วิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 327 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ความรู้ความเข้าใจของบุคลากรสายวิชาการและบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อยู่ในระดับปานกลาง และ 2) ความพึงพอใจในการให้บริการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านขั้นตอนการให้บริการ ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ ด้านสิ่งอำนวย ความสะดวก และด้านคุณภาพการให้บริการ อยู่ในระดับมาก โดยมีข้อเสนอแนะสำหรับกระบวนการบริการขอรับความคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา ดังนี้ 1) ด้านขั้นตอนการให้บริการ ควรเพิ่มช่องทางการยื่นขอรับความคุ้มครองเพื่อความสะดวกรวดเร็ว 2) ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ เพิ่มเจ้าหน้าที่ในหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญา สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สำหรับให้คำปรึกษา แนะนำ และตรวจสอบการจัดเตรียมเอกสารที่ถูกต้อง และ 3) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ควรจัดอบรมและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่บุคลากรในมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่องทุกปี และควรผลักดันการนำผลงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์ได้จริง การจัดสรรผลประโยชน์ รวมถึงเพิ่มช่องทางการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักวิจัย
The purposes of this research were 1) to study the knowledge and understanding of the staff at Rajamangala University of Technology Thanyaburi (RMUTT) toward the operations of the intellectual property section under the Institute of Research and Development, and 2) to study the satisfaction of RMUTT staff with the intellectual property section performance as service recipients. The samples were collected by using a simple random sampling method in 327 service recipients, consisting of the RMUTT faculty, and supporting staff. The data inquiry employed a questionnaire survey. Data was collected and analyzed using percentage, mean, standard deviation, and content analysis. The results of this study found that 1) the knowledge and understanding of both RMUTT faculty and supporting staff toward the operations of the intellectual property section were at a medium level, and 2) the overall service satisfaction in four aspects including the service process, service personnel, facilities, and service quality was relatively at high level. The results suggested guidelines for improving application processes of the RMUTT’s intellectual property protection as follows: 1) Service Procedure – providing additional channels for the application for more convenience; 2) Service Personnel – preparing professional staff for providing consultation, giving advice, and proofreading of the submitted documents; and 3) Facilities – organizing annual training and workshop on intellectual property for the RMUTT faculty, benefit sharing and staff as well as promoting practical utilizations of the intellectual property work to foster self-learning and self-improvement of the researchers.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4017
Appears in Collections:วิจัย (Research - IRD)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
20230316-Research-Mayuree_j.pdfกระบวนการบริการขอรับความคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี2.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.