Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3494
Title: การจัดการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3
Other Titles: Learning management by using the flipped classroom approach for enhancing learning achievement in mathematics for secondary 3 (grade 9) students
Authors: ยุภาพร ด้วงโต้ด
Keywords: ห้องเรียนกลับด้าน
คณิตศาสตร์ – การศึกษาและการสอน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การจัดการเรียนรู้
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร
Abstract: การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาปริมาตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้าน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาปริมาตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้การจัดการ เรียนรู้แบบปกติ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาปริมาตร ของกลุ่มที่ได้รับการจัด กิจกรรมเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้าน กับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบปกติ) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรียนอนุบาลทับกวาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2560 จำนวน 60 คน เลือกโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกระบวนการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t–test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาปริมาตรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้านหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการหาปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปกติหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 หลังเรียน ด้วยการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้านสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
The objectives of this research were to 1) compare learning achievement in Mathematics on Finding Volume for Secondary 3 (Grade 9) students before and after activity arrangements by using the flipped classroom approach, 2) compare learning achievement in Mathematics on Finding Volume for Secondary 3 (Grade 9) students before and after activity arrangements by using the conventional approach, and 3) compare learning achievement in Mathematics on Finding Volume between the Group of Secondary 3 (Grade 9) students arranged with the flipped-classroom learning activities and another group arranged with the conventional learning activities. The samples were 60 Secondary 3 (Grade 9) students in Anubantabkwang School, Saraburi Primary Educational Service Office Area 2, Semester 1 in Academic Year 2017. They derived from multistage sampling. The research instruments were the flipped-classroom lesson plan, the conventional lesson plan and the learning achievement test. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation and t-test. The results were as follows: 1) the learning achievement of Secondary 3 (Grade 9) students in Mathematics on Finding Volume after using the flipped-classroom approach was significantly higher than before using at the 0.05 level. 2) The achievement of the Secondary 3 (Grade 9) students in Mathematics on Finding Volume after using the conventional approach was significantly higher than before using at the 0.05 level. 3) The achievement of the Secondary 3 (Grade 9) students learning Finding Volume in Mathematics by the flipped-classroom approach was higher than another group learning by the conventional approach at a statistical significance the level of 0.05.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3494
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis-TECHED)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-161597.pdfการจัดการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 361 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.