Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3083
Title: การวิเคราะห์องค์ประกอบการเป็นองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา: การวิเคราะห์โมเดลเปรียบเทียบการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษา
Other Titles: The composition analysis of the organization of educational institution happiness: Analysis of the model comparison between basic education and higher education
Authors: พิกุล พุ่มช้าง
Keywords: การศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษา -- การวิเคราะห์โมเดล
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ
องค์กรแห่งความสุข
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของการเป็นองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษาไทย 2) เพื่อเปรียบเทียบโมเดลองค์ประกอบการเป็นองค์กรแห่งความสุขระหว่างสถาบันศึกษาขั้นพื้นฐานและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 900 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 52 ข้อ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.935 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบตัวชี้วัดของการเป็นองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษาไทย โดยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญ การหมุนแกนองค์ประกอบแบบมุมฉาก ด้วยวิธีแวริแมกซ์ ซึ่งได้องค์ประกอบทั้งหมด 9 องค์ประกอบ สามารถอธิบายองค์ประกอบของการเป็นองค์กรแห่งความสุขของสถานการศึกษาไทย ได้ร้อยละ 65.166 และพบว่าองค์ประกอบการเป็นองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้องค์ประกอบทั้งหมด 9 องค์ประกอบ สามารถอธิบายองค์ประกอบของการเป็นองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้ร้อยละ 65.431 และพบว่าองค์ประกอบตัวชี้วัดของการเป็นองค์กรแห่งความสุขของสถานการศึกษาระดับอุดมศึกษาได้องค์ประกอบทั้งหมด 10 องค์ประกอบ สามารถอธิบายองค์ประกอบของการเป็นองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาได้ร้อยละ 71.102
The objectives of this research were to: 1) analyze the factors for being a happy workplace for Thai educational institutions; and 2) compare the model factors for a happy workplace between the institutions in Basic Education and Higher Education. A rating scale questionnaire with 0.935 reliability was administered to 900 samples and then the data was analyzed by Exploratory Factor Analysis, Principal Components Analysis and Orthogonal Rotation by Varimax Orthogonal Rotation. The results revealed that there were 9 factors with 65.166% for being a happy workplace of Thai educational institutions. Being a happy workplace for elementary educational institutions included 9 factors with 65.431% while 10 factors were found for being a happy workplace in higher educational institutions at 71.102%.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3083
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis-TECHED)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-155565.pdfการวิเคราะห์องค์ประกอบการเป็นองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา: การวิเคราะห์โมเดลเปรียบเทียบการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษา6.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.