Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3504
Title: ความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์เขต 3
Other Titles: Digital Citizenship of Students in Primary Levels 1-6 (Grades 1-6) in Schools under the Phetchabun Primary Educational Service Area Office 3
Authors: ต้องตา จำเริญใจ
Keywords: ความเป็นพลเมืองดิจิทัล
พลเมืองดิจิทัล
ดิจิทัล
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 1-6 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบ ความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 1-6 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 จำแนกตามขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 จำนวน 319 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราวัด ประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 1-6 ของ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการใช้งานดิจิทัลอย่างรับผิดชอบปลอดภัย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านสร้างนวัตกรรมดิจิทัล และด้านมีความเคารพต่อตนเองและผู้อื่นในโลกดิจิทัล มีค่าเฉลี่ย ต่ำที่สุด และ 2) ผลการเปรียบเทียบความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 1-6 ของ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวม และรายด้านไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
The objectives of this research were : 1) to study the digital citizenship of students in Primary levels 1-6 (Grades 1-6) in schools under the Phetchabun Primary Educational Service Area Office 3, and 2) to compare the levels of the digital citizenship of students in Primary level 1-6 (Grade 1-6) in schools under the Phetchabun Primary Educational Service Area Office 3, classified by school size. The samples consisted of 319 teachers under the Phetchabun Primary Educational Service Area Office 3. The instrument was a five-point scale questionnaire. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and one-way analysis of variance (One-Way ANOVA). The findings showed that 1) the digital citizenship of students in Primary levels 1-6 (Grades 1-6) in schools under the Phetchabun Primary Educational Service Area Office 3 was at a high level in overall and particular aspects. Among the particular aspects, the highest mean was digital usability with responsibility and safety. The second highest mean was digital innovation. The lowest mean was respect for oneself and others in the digital world. 2) When the overall and particular aspects were compared, the digital citizenship of students in Primary levels 1-6 (Grades 1-6) in schools under the Phetchabun Primary Educational Service Area Office 3, classified by school size, did not achieve statistically significant difference at the level of 0.05.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3504
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis-TECHED)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-160404.pdfDigital Citizenship of Students in Primary Levels 1-6 (Grades 1-6) in Schools under the Phetchabun Primary Educational Service Area Office 32.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.