Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2761
Title: การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนสำหรับมัคคุเทศก์น้อย ในจังหวัดสิงห์บุรี
Other Titles: Developing training program on cultural tourism for ASEAN preparation for young tour guides in Singburi province
Authors: มธุรดา เอี่ยมสุภา
Keywords: การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
การเข้าสู่ประช่าคมอาเซียน
มัคคุเทศก์
หลักสูตรฝึกอบรม
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมด้านการ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2) ศึกษาผลการใช้หลักสูตร ฝึกอบรม และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ มัคคุเทศก์น้อย จำนวน 35 คน ที่ได้มาจากการสุ่ม อย่างง่าย จากจำนวนมัคคุเทศก์น้อยในจังหวัดสิงห์บุรีจำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) หลักสูตรฝึกอบรม 2) แบบสอบถาม 3) แบบสัมภาษณ์ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อหลักสูตร การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test แบบ Dependent และ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากแบบสัมภาษณ์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตร พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมด้านการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม เพื่อเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนสำหรับมัคคุเทศก์น้อยในจังหวัด สิงห์บุรี ประกอบด้วย (1) หลักการ (2) จุดมุ่งหมาย (3) โครงสร้าง (4) ขอบข่ายเนื้อหา (5) กิจกรรมใน การฝึกอบรม (6) สื่อประกอบการฝึกอบรม (7) ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกอบรม (8) เอกสารประกอบ การฝึกอบรมสำหรับวิทยากร เอกสารประกอบการฝึกอบรมสำหรับมัคคุเทศก์น้อย (9) การวัดและ ประเมินผล (10) แผนการจัดการฝึกอบรม จำนวน 3 แผน โดยแผนการจัดการฝึกอบรมที่ 1 เรื่อง บุคลิกภาพเบื้องต้นของมัคคุเทศก์ แผนการจัดการฝึกอบรมที่ 2 เรื่อง ข้อมูลเบื้องต้นและแหล่ง ท่องเที่ยวในจังหวัดสิงห์บุรี แผนการจัดการฝึกอบรมที่ 3 เรื่อง อาเซียน การประเมินผลโครงร่าง หลักสูตร พบว่า หลักสูตรมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.6-1.00 ดังนั้น ส่วนประกอบในโครงร่างหลักสูตร และแผนการจัดการฝึกอบรม มีความสอดคล้องและเหมาะสม 2) ด้านการประเมิน พบว่า มัคคุเทศก์น้อยมีความตั้งใจในการเรียนรู้ มีความสนใจด้านการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม เพื่อเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนสำหรับมัคคุเทศก์น้อยในจังหวัด สิงห์บุรี ของมัคคุเทศก์ที่เรียนตามหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 และ 3) ด้านการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมด้านการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรม เพื่อเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนสำหรับมัคคุเทศก์น้อยในจังหวัดสิงห์บุรี โดยภาพรวม พบว่า มัคคุเทศก์น้อยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ในการจัดการฝึกอบรมด้าน การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ได้เรียนรู้สิ่งที่อยู่ใน ท้องถิ่นของตน ทำให้มีความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น
The objectives of this research were to 1) develop training program on cultural tourism for ASEAN community preparation for young tour guides in Singburi province, 2) study the performance and efficiency of the developed training program, and 3) study th e participants’ satisfaction towards the developed training program. The samples of this research were 35 young tour guides selected by simple random sampling from 70 young tour guides in Singburi province. The research instruments were 1) training program, 2) questionnaire, 3) interview, 4) academic achievement test, and 5) satisfaction questionnaire. Quantitative data were analyzed through percentage, mean, standard deviation, and Dependent sample t-test. Qualitative data were analyzed through content analysis from interviews. The results of this research showed that: 1) the training program on cultural tourism for the ASEAN community preparation for young tour guides in Singburi province consisted of (1) rationale, (2) objective, (3) structure, (4) content, (5) training activities, (6) training media, (7) training duration, (8) training documentation for trainers and trainees, (9) measurement and evaluation, and (10) three training plans: 1) introduction to personality of tour guides, 2) general information and tourist attractions in Singburi province, 3) ASEAN. From the evaluation, it was found that he program evaluation had the Index of Consistency (IOC) between 0.6 to 1.00, suggesting that the components of the program outline and training plans were relevant. The samples were attentively interested in the training program. The result showed that the samples had higher posttest score than the pretest score at statistically significant difference .05. The satisfaction towards the training program was at the highest level. The samples learned and enhanced their knowledge of cultural tourism from their local resources.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2761
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis-TECHED)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-151620.pdfDeveloping training program on cultural tourism for ASEAN preparation for young tour guides in Singburi province4.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.